วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดอกที่น่ารัก ^^



แม่...คำนี้มีอานุภาพยิ่งใหญ่ในใจลูกทุกคน จนยากที่จะเปรียบเทียบได้กับทุกสรรพสิ่งในโลก ดังคำขวัญที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานไว้ว่า “แม่เป็นพระอรหันต์ของลูก คนที่เที่ยววิ่งหาพระเพื่อกราบไหว้พระอรหันต์ อย่าลืมว่ามีพระอรหันต์อยู่กับตัวแล้ว ควรปฏิบัติต่อแม่อย่าให้บกพร่องได้” พระคุณของแม่อันประกอบไปด้วยความรักที่มีต่อลูกอย่างสุดหัวใจเช่นนี้ คงไม่ยากจนเกินไปนัก หากเอ่ยคำว่า “รัก” ให้แม่ได้ชื่นใจบ้าง เพราะคุณอาจโชคดีกว่าหลาย ๆ คนที่ได้เพียงแต่รำลึกถึงพระคุณแม่ผ่านภาพและเงาที่ตราตรึงไว้ในความทรงจำเท่านั้นว่า “ลูกรักแม่”
 
ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ. 2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้านหรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว

ประวัติวันแม่ และความหมาประวัติวันแม่ และความหมา
สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุนซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง
 ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทยเห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา
เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...
ประวัติวันแม่ และความหมา
ชื่อ :..มะลิ มะลิลา มะลิหลวง มะลิซ้อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ และชื่อพฤกษศาสตร์ :..Jusminum adenophyllum.
วงศ์ :..OLEACEAE
ชื่อสามัญ :..-
ถิ่นกำเนิด :..-
ลักษณะทั่วไป :..เป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ :..เป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกในดินร่วนซุย ขยายพันธุ์โดยการปักชำ หรือตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา :..มะลินอกจากจะมีกลิ่นหอมไว้ดมแล้ว มะลิดอกแห้งใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี



http://blog.eduzones.com/winny/3603





ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์วันแม่

ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์วันแม่


ดอกมะลิ

ดอกมะลิ

ดอกมะลิ

ดอกมะลิ


เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
          

          ดอกไม้ดอกเล็ก ๆ สีขาวบริสุทธิ์ที่มีกลิ่นหอมชวนดมอย่าง "ดอกมะลิ" ถูกนำมาใช้เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ "วันแม่" เพราะดอกมะลิเปรียบเสมือนความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีให้ลูกน้อยไม่มีวันเสื่อมคลาย เหมือนกับความหอมของดอกมะลิที่หอมนาน และออกดอกตลอดทั้งปี นอกจากนี้ คนไทยยังนิยมนำดอกมะลิมาร้อยมาลัยบูชาพระ ดังนั้น ดอกมะลิ จึงเปรียบเสมือนการบูชาแม่ผู้มีพระคุณของลูก ๆ ทุกคน

          อย่างไรก็ตาม ดอกมะลิ ดอกไม้ไทยแท้ชนิดนี้ ไม่ได้มีดีแค่ความหอม หรือนำไปร้อยมาลัย แต่ยังเป็นดอกไม้ที่มีประโยชน์อีกมากมาย รวมทั้งแฝงไว้ด้วยสรรพคุณทางยาในการช่วยบำบัดและรักษาอาการเจ็บป่วยได้อย่างดีเยี่ยมโดยที่เราคาดไม่ถึง

          คงนึกไม่ถึงใช่ไหมล่ะ ว่า ดอกมะลินี้มีอะไรดี ๆ มากกว่าที่เห็น ๆ กัน อย่างนั้นก็ต้องแนะนำให้รู้จักกันหน่อยแล้ว



ดอกมะลิ

          ดอกมะลิ  เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่มีกลิ่นหอมเย็นใจให้ความรู้สึกสุขสงบ มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Jasmine ส่วนชื่อทางภาษานักพฤกษศาสตร์ที่ใช้เรียกขานกัน คือ Jasminum sambac (L.) Ait. เป็นพืชในวงศ์  Oleaceae ส่วนบ้านเราไม่ว่าจะเป็นภาคใด ที่ไหนก็เรียกว่า ดอกมะลิ
 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

          
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กที่มีความสูงไม่มากนัก สูงอย่างเต็มที่ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 เมตร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ดอกมะลิได้รับความนิยมจากคนรักต้นไม้ให้เป็นตัวเลือกแรกที่จะปลูกไว้ในบ้าน มะลิเป็นไม้พุ่มที่แตกแขนงกิ่งก้านสาขาออกมามากมาย กิ่งอ่อนจะมีขนสั้น ๆ นุ่มมือ ใบเป็นแบบใบเดี่ยวออกในลักษณะตรงข้ามกัน ใบค่อนข้างกลม ปลายใบมน สีเขียวเข้ม ดอกเป็นแบบดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อก็ได้ โดยแต่ละช่อมี 2-3 ดอก กลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีขาว กลีบดอกสีขาวนวลตา กลิ่นหอมอวล ไม่ฉุนจัดจนเกินไป เลี้ยงง่าย เติบโตไว ไม่ต้องการความเอาใจใส่ หรือต้องดูและอะไรเป็นพิเศษ
ดอกมะลิ

ดอกมะลิ

 คุณค่าและคุณประโยชน์

          
คนสมัยก่อน นอกจากจะนิยมปลูกดอกมะลิเอาไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อชื่นชมกับดอกสีขาวสวยนุ่มนวลชวนมองแล้ว เขายังเก็บดอกมะลิตูมมาใส่พาน หรือถ้ามีเวลาว่างพอก็จะนำมาร้อยเป็นมาลัยกราบบูชาพระอีกด้วย  กลิ่นหอมอ่อน ๆ อบอวลของดอกมะลิที่อยู่ในห้องพระ ให้ความรู้สึกสงบใจอีกต่างหาก

          นอกจากนี้ยังนำดอกมะลิมาลอยในน้ำดื่มเย็น ๆ ให้แขกผู้มาเยือนได้ดื่มกันอย่างชื่นอกชื่นใจ หรือจะนำดอกมะลิไปลอยในน้ำเชื่อมกินกับขนมหวานไทย ก็ทำให้มีกลิ่นหอมชวนทาน แต่ทั้งนี้ต้องมั่นใจว่า ดอกมะลิที่นำมาใช้ไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลง

          ส่วนประโยชน์ทางสมุนไพรของมะลิก็มีแทบทุกส่วนก็ว่าได้ ไล่กันไปตั้งแต่รากเรื่อยไปจนถึงดอกทีเดียว  รากของมะลิแก้ได้สารพัดโรค ทั้งปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เลือดออกตามไรฟัน รวมทั้งช่วยรักษาหลอดลมอักเสบได้ด้วย หากนำรากมาฝนกินกับน้ำ แก้ร้อนในได้ดี คนที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก ให้นำรากมาประมาณ 1-1.5 กรัม ต้มน้ำกินก็ช่วยได้

          
ส่วนใบใช้แก้ไข้ที่เกิดจากอาการเปลี่ยนแปลงได้ดี รวมทั้งรักษาอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย หากนำใบมาตำแล้วละลายกับน้ำปูนใส แต้มแผลฟกช้ำ แผลเรื้อรัง โรคผิวหนังจะหายไวขึ้น ตลอดจนช่วยบำรุงสายตา และขับน้ำนมสตรีที่มีครรภ์ได้ด้วย

          
สุดท้ายคือส่วนของดอก ดอกมะลิ นอกจากความสวยและความหอมแล้ว ยังแก้โรคบิด อาการปวดท้อง หากตำให้ละเอียดพอกที่ขมับ แก้อาการปวดหัวและปวดหูชั้นกลางได้ แถมยังช่วยรักษาแผลพุพอง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย รวมทั้งเป็นยาบำรุงหัวใจได้อย่างดีเยี่ยมอีกขนานหนึ่งด้วย

          นี่แหละคุณค่าของ ดอกมะลิ ดอกไม้ไทยที่หาได้ง่าย ๆ ใกล้ ๆ ตัว ใกล้ใจ และใกล้มือจริง ๆ  


http://health.kapook.com/view1062.html






     และสวนดองมะลิ



สวนดอกมะลิ


แบ-กบาล...ลูกหลานอุบลฯ เรื่อง พริกขี้หนู
สวนดอกมะลิ
               “พวงมาลัยไหมคะ? พวงมาลัยค่ะ” 

               “วันนี้วันพระ พวงมาลัยไหมครับ” 
               คุณคงคุ้นหูกับซุ่มเสียงเชื้อเชิญให้ซื้อพวงมาลัยตามสี่แยกไฟแดง พร้อมกับไม่ลืมที่จะนำเสนอกลยุทธ์ทางการตลาดในการจูงใจลูกค้าด้วยราคา 3 พวง 20 บาท มีให้เลือกทั้งแบบร้อยปลายด้วยดอกดาวเรือง บ้างก็ดอกกุหลาบ แต่ที่จะขาดไม่ได้สำหรับพวงมาลัยทุกพวงคือ “ดอกมะลิ”
               ไม่รู้ว่าคุณเข้าใจ(ผิด) เหมือนกับเราหรือเปล่าว่า ดอกมะลิที่เราๆ ท่านๆ เห็นกันอยู่ทุกวันนี้มาจากจังหวัดอื่น ซึ่งมันไม่ใช่...เพราะความจริงแล้วเป็นดอกมะลิฝีมือการปลูกของเกษตรกรชาวอุบลฯ ของเรานี่เอง ถ้าอย่างนั้นจะช้าอยู่ใย...เดินทางไปยังสวนมะลิที่ อ.เดชอุดมด้วยกันเลย...
               เราเดินทางมาถึงสวนดอกมะลิ ต.ท่าโพธิ์ศรี อ.เดชอุดม จ.อุบลฯ ช่วงสายๆ ซึ่งชาวบ้านกำลังขะมักเขม้นเก็บดอกมะลิกันเป็นการใหญ่ เหตุที่เลือกมาที่นี่เพราะได้รับการกล่าวขานว่าเป็นสวนมะลิที่ใหญ่และเป็นแหล่งส่งดอกมะลิรายใหญ่ในอุบลฯ นั่นไง...คุณนิคม พิมพ์หล่อ เจ้าของสวนมะลิ กำลังเดินออกมาต้อนรับพวกเราด้วยรอยยิ้มพร้อมกับบอกเล่าที่มาของการทำสวนมะลิให้ฟังว่า...
               “ผมทำสวนมะลิมาตั้งแต่ปี 2536 แล้วครับ มันเริ่มจากตอนที่ผมบวชเพื่อศึกษาธรรมะอยู่ที่กรุงเทพฯ แล้วมีโยมคนหนึ่งแนะนำให้ปลูก เขาบอกว่ารายได้มันดี เพราะอย่างวันปกติถ้าทำมาลัยขายก็จะได้วันละประมาณ 800-1,000 บาท แต่ถ้าเป็นวันพระก็จะขายได้ประมาณ 1,500 บาท
               ครั้งแรกเลยผมเริ่มปลูกประมาณ 1,000 ต้น ใช้พื้นที่ประมาณ1 ไร่ ปลูกแบบลองผิดลองถูก แต่ช่วงหลังนี่ก็เริ่มขยายพื้นที่ เริ่มเรียนรู้และปลูกอย่างถูกต้องขึ้น “
เราต้องปลูกมะลิอย่างไรจึงจะได้ผลดี
               “พันธุ์ ต้องได้พันธุ์ดี ผมสั่งแม่พันธุ์ (พันธุ์เพชร) มาจากนครปฐม เมื่อก่อนเพาะพันธุ์เองมันช้ามาก มะลิเนี่ยถ้าจะให้ออกดอกเยอะๆ เราต้องไปเอาพันธุ์บ้าน เขาเองก็จะต้องมาเอาพันธุ์บ้านเราไปปลูกมัน ในการปลูกก็ต้องปลูกให้มันเป็นแถว และควรเหลือร่องทางเดินระหว่างต้นมะลิประมาณ 1.50 เมตรด้วยเผื่อเวลาจะฉีดยาจะได้สะดวกและไม่มาโดนเราด้วย
               “ส่วนดินที่มะลิชอบคือดินทรายแบบอีสานบ้านเรานี่แหละ เพราะเวลาที่ฝนตกดินมันจะได้ไม่มาโดนดอกมะลิ ถ้าเป็นดินแดงหรือดินเหนียวค่อนข้างจะแย่หน่อย ฝนตกทีดินจะกระเด็นมาโดนดอกเสียหมด ส่วนเรื่องของการดูแลก็สำคัญ ต้องรดน้ำเกือบทุกวัน สวนผมนี่สวนมันใหญ่ก็เลยเปิดน้ำสปริงเกิลเกือบทั้งวันเลย ใส่ปุ๋ยเป็นช่วงๆ ทั้งปุ๋ยคอกปุ๋ยวิทยาศาสตร์แล้วแต่สภาพดิน ถ้าเป็นดินที่เราบุกเบิกใหม่ๆ ก็ไม่ต้องบำรุงมาก เพราะมันมีสารจุลินทรีย์ในตัวอยู่แล้ว ปลูกมะลินี่ดีอย่าง...เราไม่ต้องไปบำรุงอะไรมากมาย ปลูกแล้วเราก็รอมันโต เราปลูกครั้งแรกใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือนเราก็เก็บดอกได้แล้ว ต้นหนึ่งก็จะมีอายุประมาณ 5-6 ปีถึงจะได้ปลูกใหม่ แค่ตัดแต่งกิ่งก็พอ”
 


เห็นมีคนเก็บดอกมะลิเยอะมาก
               “อึ้ม! อันนี้สำคัญ บางคนปลูกได้ผลผลิตเยอะ แต่ว่าเก็บไปขายไม่ได้ การหาคนมาเก็บดอกมะลิให้เราเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะสวนมะลิขนาดใหญ่ ถ้าช่วงไหนที่ราคามะลิสูงกิโลกรัมละ 200 บาทขึ้นไปเราก็จะจ้างเขาเก็บกิโลกรัมละ 50 บาท แต่ถ้าช่วงไหนที่ราคามะลิมันลดลงก็จะจ้างเก็บกิโลกรัมละ 30-40 บาท คิดเฉลี่ยก็เก็บได้ชั่วโมงละ 1 กิโลกรัม ถ้าใครเก็บเก่งๆ วันหนึ่งได้ 10 กิโลกรัมก็มี อย่างสวนผมก็ต้องใช้คนเก็บประมาณ 40-50 คนไม่อย่างนั้นมันจะไม่ทัน”
ไปเอาข้อมูลการปลูกมะลิมาจากไหน
               “อันที่จริงผมลองทำมาหลายอย่างแล้ว ทั้งเลี้ยงไก่ ปลูกต้นไม้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ พอมาปลูกมะลิก็เลยต้องศึกษาข้อมูลให้มากขึ้น ศึกษาเอง วิจัยเอง ปรึกษากับเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน อ่านหนังสือและวิเคราะห์ช่วยกัน ใช้ยาแบบนี้ได้ไหม ต้องดูแลรักษาแบบไหนถึงจะได้ผล ทุกวันนี้เกษตรกรต้องมีความรู้ เพราะเทคนิคบางอย่างเราต้องรู้และต้องทำให้เป็น ทุกวันนี้ผมยังต้องค้นคว้า และต้องศึกษาทั้งเรื่องการเกษตรและการตลาดอีกเรื่อยๆ ไม่มีวันสิ้นสุด เพราะไม่อย่างนั้นเราก็จะอยู่ไม่ได้”
พูดถึงรายได้ให้ฟังหน่อยสิคะ
“ถ้าคิดรายได้เฉลี่ยผมขายได้กิโลกรัมละ 150 บาทก็จะได้ประมาณเดือนละ 50,000 บาท แต่ถ้าราคามันสูงกว่านี้ ก็จะได้เยอะขึ้นตาม วันที่ขายได้ดีคือช่วงวันพระ วันสงกรานต์และก็วันแม่ ราคาจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 300-400 บาท”
มะลิบ้านเราส่งไปขายที่ไหนบ้าง
               “ส่งไปขายที่กรุงเทพฯ ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจฯ เพราะที่อื่นเขาปลูกไม่เยอะเหมือนบ้านเรา อาจจะด้วยเพราะสภาพดินไม่ได้บ้าง คนเก็บไม่มีบ้าง หรืออาจจะท้อแท้กับหลายๆ อย่าง”
เห็นบอกว่าธรรมะมีส่วนทำให้การปลูกมะลิประสบความสำเร็จ
               “ใช่ เพราะธรรมะสอนให้ผมรู้จักขยัน อดทน ถ้าเราเรียนหนังสือมามีความรู้แต่ไม่ลงมือทำแล้วมันจะสำเร็จได้ไหม หรือเรียนมาแล้วลงมือทำ ทำไปสักพักแล้วถอดใจ ท้อแล้วก็ทิ้งก็ไม่สำเร็จ การจะปลูกมะลิให้ประสบความสำเร็จมันต้องมีความขยัน อดทน และสิ่งที่ผมได้จากการเป็นเกษตรกรสวนมะลินอกจากเงินรายได้แล้ว ผมยังมีจิตใจที่เบ่งบาน เพราะผมมีความสุขทุกครั้งที่ทำ ความเครียดนี่ไม่มีเลย และมันยังเป็นการช่วยให้คนอื่นมีรายได้อีกด้วย”
มีหลายคนมาดูงาน มาปรึกษา พี่ก็ยินดีที่จะแนะนำ
               “มีนักศึกษาจาก ม.อุบลฯ มาดูงานเรื่อยๆและก็มีนักข่าวจากช่อง 7 ช่อง 11 มาถ่ายทำเพื่อไปเผยแพร่ ผมก็ยินดีที่จะบอก บางคนก็ถามว่า ไม่กลัวว่าบอกเขาแล้วเขาจะไปปลูกและแย่งลูกค้าเราเหรอ สำหรับผมไม่กลัวนะ ผมเชื่อว่าคนเรามันทำได้ไม่เท่ากันหรอก พระเจ้าให้ความขยันและอดทนไม่เท่ากัน ถ้างั้นทุกคนก็รวยเท่ากันหมดแล้วสิ มันต้องมีคนชั้นสูง คนชั้นกลาง คนชั้นต่ำ เหมือนกันบัว 4 เหล่าในคำสอนพระพุทธเจ้าก็เปรียบเหมือนการทำสวนให้ประสบความสำเร็จนี่แหละ ชีวิตทุกคนมีสิทธิ์ที่จะประสบความสำเร็จได้ แต่คนส่วนมากจะเดินไปไม่ถึง เพราะขาดความรู้ ไม่มีประสบการณ์ และก็เบื่อหน่ายท้อแท้เร็ว ไม่ขยันและไม่อดทน
               “ผมอยากจะฝากบอกสำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปลูกมะลิ ถ้าอยากทำก็ทำเลย ถ้าใครมีที่ดินอยู่แล้ว มีเงินทุนอยู่ประมาณ 5,000-10,000 บาทก็ทำได้แล้วนะ เริ่มจากน้อยไปหามากตามกำลังที่จะทำไหว ที่เหลือคือหัวใจ ความอดทนและความขยันครับ”
               กับเงินก้อนหนึ่งบวกกับแรงกายแรงใจแห่งความทุ่มเทที่จะทำ ใส่ความขยันและอดทนเข้าไปซะหน่อย แล้วคุณก็จะมองเห็นความสำเร็จอยู่รำไรๆ ตรงหน้า
อ.นิคม  พิมพ์หล่อ โทร.0895325715



http://guideubon.com/news/view.php?t=99&s_id=28&d_id=28